Saturday, April 29, 2017

あいづち②

     เย สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ถึงฤดูสอบไฟนอลแล้ว งานการทับถมเป็นล้านอย่างมากค่ะ ฮือ อยากให้วันนึงมีสัก 40 ชั่วโมง หรือไม่ก็ขอข้ามเวลาไปหลังสอบเลยได้มั้ย 555 อา

     ส่วนเรื่องที่จะมาอัพบล็อคคราวนี้ก็ยังเป็น あいづち อยู่ค่ะ หลังจากที่เราได้สังเกตการใช้ あいづち ของคนญี่ปุ่นไปแล้ว คราวนี้เราก็ได้มาลองฝึกใช้ดูบ้างค่ะ กิจกรรมที่ทำคราวนี้จะต่อเนื่องกับเรื่อง 目に浮かぶ描写 ค่ะ คือในคราวที่แล้วเราได้ผลัดกันเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังแล้วก็ผลัดกันเป็นผู้ฟังด้วย ที่อัพบล็อคไปความที่แล้วจะเป็นส่วนที่เขียนเกี่ยวกับตอนที่เราเป็นผู้เล่าค่ะ แต่คราวนี่เราจะมาดูตอนที่เราเป็นผู้ฟังกันบ้าง ในคาบเรียนคราวที่แล้ว (แล้วๆ?) เราได้ทำกิจกรรมนี้ใหม่อีกรอบ (แต่เนื้อหาที่เล่าเป็นคนละเรื่องกันนะคะ) เราเลยจะลองมาเปรียบการใช้ あいづち ของคราวที่แล้วกับคราวนี้กันค่ะ



     ก่อนอื่นก็พูดถึงคราวที่แล้วก่อนแล้วกันค่ะ คือ....มันแทบไม่มีอะไรให้พูดเลยค่ะ 5555 ฟังจากที่อัดเสียงมาแล้ว เราพูด あいづち ไปทั้งหมดสามครั้ง แล้วทั้งสามครั้งเป็นคำว่า うん หมดเลยค่ะ 55555 จริงๆเราอาจจะพูดไปเยอะกว่านั้นก็ได้ แต่อัดมาแล้วมันไม่ค่อยได้ยินเท่าไหร่ค่ะ (พยายามคิดเข้าข้างตัวเอง 5555)



     คราวนี้มาดูที่เราทำไปคราวที่แล้วบ้างค่ะ เรามั่นใจมากว่ามีพัฒนาการ (ก็ดูคราวที่แล้วสิ) 555555 คราวนี้เรามีการใช้ あいづち หลายชนิดมากขึ้น แล้วก็ใช้ถี่ขึ้นด้วยค่ะ あいづち ที่ใช้ก็มีประมาณนี้ค่ะ

1.ตอบรับ 
อันนี้เราใช้แต่ うん อย่างเดียวเลยค่ะ ใช้ไปสามครั้งค่ะ เท่าคราวที่แล้วเลย 555

2.ตกใจ
คราวนี้เรามีการแสดงอารมณ์เพิ่มขึ้นมาด้วยค่ะ ที่เราใช้แสดงความตกใจก็จะมี えっ、えー、まじで ค่ะ

3.ถามกลับ 
มีการถามถึงเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่เพิ่มค่ะ ที่เราใช้ไปคือ どうやった?ฟังไปแล้วเหมือนภาษาคันไซเลย 555 คือเราต้องการจะถามว่าแล้วจากนั้นทำยังไงต่อ 555 จริงๆถ้าใส่เพิ่มเป็นそれで、どうやったの?จะเข้าใจมากขึ้นรึเปล่านะ...555

4.พูด感想ของตัวเองที่มีต่อเรื่องที่อีกฝ่ายเล่า 
คราวนี้เรามีการพูดความรู้สึกที่มีต่อเรื่องที่อีกฝ่านเล่าหลังจากเล่าเสร็จเพิ่มค่ะ รู้สึกว่าดูตั้งใจฟังขึ้นอีกหน่อยนึง 555



     พอมาดูแบบนี้แล้วรู้สึกว่าพัฒนาขึ้นเยอะเลย 555 จริงๆเรื่อง あいづち รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่มีความรู้ทางทฤษฏีอยู่บ้างนิดหน่อย แต่เวลาตัวเองเป็นคนฟังจะไม่ค่อย 意識 กับการใช้เท่าไหร่ ทำให้กลายเป็นไม่ค่อยใช้ไป พอมาลอง 意識 ดูแล้วเลยมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 555 ฮือ หลังจากนี้ไปเวลาเป็นคนฟังเราจะพยายาม 意識 เรื่อง あいづち เยอะๆนะคะ...

     กับอีกอย่างนึงคือ ตอนที่ทำกิจกรรมนี้ครั้งแรก ทั้งเราทั้งเพื่อนพูดเป็นแบบเล่าเรื่องในมุมมองบุคคลที่สามหมดเลย แต่คราวนี้เรากับเพื่อนเล่าเหมือนเอาตัวเองเข้าไปเป็นตัวเอกในเรื่อง พอเป็นแบบนี้แล้วเรารู้สึกว่าใช้ あいづち ง่ายกว่าเยอะเลย เพราะดูเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เหมือนเพื่อนคุยกัน แต่ตอนเล่าจากบุคคลที่สามรู้สึกว่ามันเป้นเรื่องไกลตัว เลยไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมเท่าไหร่ด้วยมั้ง เลยไม่ค่อยได้ใช้ あいづち 555



     กิจกรรมคราวนี้ก็มีประมาณนี้ค่ะ พอลองใส่ あいづち เยอะๆแล้วรู้สึกเหมือนบทสนทนาจะดูสนุกสนานขึ้นนิดหน่อย จากนี้ไปก็จะพยายามใช้ให้เยอะขึ้นนะคะ 555 วันนี้อาจจะอัพสั้นไปหน่อย แต่ก็ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงนี้นะคะะ






Friday, April 14, 2017

描写文 - 金魚すくい -

     เย สวัสดีค่ะ เจอกันอีกแล้ว 555 (ยังผ่านไปไม่ถึงวันเลย 555) คราวนี้เราจะมาพูดเรื่องการเขียนบรรยายค่ะ คราวที่แล้วเราเขียนเรื่องการบรรยายเรื่องเล่าไปแล้ว คราวนี้เราจะพูดถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการเขียน 空想作文 ค่ะ

     ตอนเขียนเอ็นทรีเรื่องปลาทอง เราเล่าเรื่องที่เราเขียนเรื่องเกี่ยวกับปลาทองไป คราวนี้เราจะเอาขั้นตอนที่เราเขียนมาสรุปไว้ในนี้ค่ะ ขั้นตอนคราวนี้คือ เขียนเรื่อง→ให้เพื่อนคอมเมนต์→แก้→ให้อาจารย์คอมเมนต์ ค่ะ




http://01.gatag.net/0006010-free-illustraition/




1.เขียนเรื่อง

     ตอนแรกเราลังเลมากว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี เรามีสองพล็อตที่อยากเขียนคือ เรื่องเด็กผู้หญิงที่เดินๆอยู่แล้วเกิดอยากตายขึ้นมา กับ เรื่องปลาทองที่ถูกช้อนขึ้นมาค่ะ ซึ่งเรื่องปลาทองเป็นเรื่องที่เราได้พล็อตมาจากเพลง 金魚すくい ที่เราแปะไปในบล็อคคราวที่แล้ว ตอนแรกเราอยากเขียนเรื่องเด็กผู้หญิงมากกว่า เพราะรู้สึกไม่ค่อยดีที่จะไปเอาพล็อตคนอื่นมา แต่รู้สึกว่าเรื่องเด็กผู้หญิงมันจะมืดมนไป แถมพล็อตที่มีในหัวก็ยังเป็นนามธรรมไปหน่อย สุดท้ายเลยตัดสินใจเขียนเรื่องปลาทองแทนค่ะ ที่เราเขียนไว้ครั้งแรงจะเป็นแบบนี้ค่ะ



金魚すくい


(藤田麻衣子の「金魚すくい」をモチーフにした話です。)


 僕は今日も青いプラスチックの箱を泳ぎ回る。色んな人がそのプラスチック箱の上に顔を出して、薄い紙が貼ってある円形のプラスチック枠で水僕らをすくう。この2日間、この箱に沢山いた僕の友達はだんだん減って行った。今夜は最後日、ボロボロになった薄い紙からこぼれ落ちた僕らはもうすくわれないだろう。色とりどりの光が水面に映って、僕の目にはこの世界がぼやけて見えた。そこで、ある人が僕の世界を隠すように、箱の上、影を落とした。その薄く弱い紙で僕を優しくすくってくれた。空気に触れた体は心地悪いが、怖くなかった。

 僕は水と一緒に透明なビニール袋に入れられた。外の世界は少しだけはっきり見えるようになった。袋の口は赤い輪ゴムで縛られ、袋の中の僕はあの人の手で揺られた。揺りかごの中にいるようなゆらゆらとした気持ちで見たことない世界に目を光らせた。すれ違う人々の笑顔、食べ物を焼く煙、匂いが分からないが、目に入った全ては新鮮に感じた。あの人は誰かと肩を並べて、楽しそうに笑いながら、狭い道をゆっくり歩いた。

「そろそろ、花火大会が始まるよ」と隣の人から声がした。

花火…聞いたことある言葉だ。確か、空に咲いたキラキラの光のことだ。そんな綺麗なものが見られるの?!嬉しさのあまり、僕は小さな袋を泳ぎ回った。

「ほら、はやく行かないと始まっちゃう」隣の人があの人の手を引っ張って走り出したのがビニール袋の中から見えた。

 途端に、強い振動がした。あの人がバランスを崩して前に倒れるのが目に入った。しかし、僕はその方向と違って、下に落ちているのを感じた。人混みに飲み込まれそうなあの人は僕の方に振り返って、手を伸ばしてきたが、人の波に押されて、だんだん離れていったのを僕は重力に引かれながら眺めていた。

 水風船が割れたような、ビニール袋が地面を叩いた音は、騒がしい祭りの中、誰の耳にも届かなかった。あの人がすくってくれたときと同じように、体が空気に包まれた。同じなはずなのに、あのときと違って、心のどこかで諦めを感じた。やはり自分はすくわれないのだと、僕はぼんやり思いながら、歩いている人々を見上げた。そのとき、バンと大きい音が響いた。たぶん、それは花火の音だろう。僕のいる場所から花火が見えないが、目をキラキラと光らせた人たちの顔が見える。花火というのはこんなに人を幸せにできるものだな…見られないのは残念だ。ても、こんな幸せで満ちた空間に触れられただけでも十分な気がする。

「あ、なんか踏んだ。」
「え、なになに、うわ!金魚じゃん!」
「うわ!気持ち悪っ!」

地面に張り付いた小さな金魚、それをすくってくれる人はなかった。



     ประมาณนี้ค่ะ....ยาวนิดหน่อยแฮะ 555 (ใครขี้เกียจไว้อ่านอันแก้แล้วทีเดียวเลยก็ได้นะคะ 555) ตอนแรกแอบมีปัญหานึกคำไม่ออกนิดหน่อย แต่เราก็ให้การบรรยายเปรียบเทียบแทน ยิ่งเพราะมันเป็นมุมมองของปลาทองด้วย เลยรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องใช้คำที่เป็นศัพท์เป๊ะๆก็ได้ อย่างตอนแรกเราไม่รู้ว่าไม้ช้อนปลาทองเรียกว่าอะไร เราเลยไปหามาแล้วก็รู้ว่ามันเรียกว่า ポイ แต่พอใช้คำนี้ทั้งๆที่การบรรยายเป็นมุมมองปลาทองแล้วเรารู้สึกแปลก เลยใช้ 薄い紙が貼ってある円形のプラスチック枠 แทน ยาวกว่ากันเยอะเลย 555 แต่รู้สึกว่ามันทำให้ปลาทองดูเป็นปลาทองที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวดี 555 แล้วก็ เราไม่รู้ว่าถูงพลาสติกแตกเรียกว่าอะไร เราเลยใช้เปรียบเทียบเป็น 水風船が割れたような、ビニール袋が地面を叩いた音 แทน (นี่ก็ยาวอีกแล้ว 555) 

     คิดไว้แต่แรกแล้วว่าอยากให้ปลาทองไม่ได้ดูดอกไม้ไฟ แต่ก็ยังนึกไม่ออกว่าทำยังไงให้มันไม่ได้ดูดี ตอนแรกคิดว่าจะให้คนที่ช้อนมาลืมถุงปลาทองวางไว้ที่ไหนสักที่ แต่พอคิดๆดูแล้วเลยให้มันตายเลยละกัน 555 ตอนแรกคิดแค่ว่าจะให้ถุงตกแตกเฉยๆ แต่พอลองใส่โดนเหยียบมาด้วยแล้วรู้สึกว่ามันอีปิคดี 555 เลยใส่ไว้อย่างงั้นค่ะ ตอนเอาให้เพื่อนลองอ่าน เพื่อนบอก ทำไมโหดร้าย! 55





2. ให้เพื่อนคอมเมนต์

    หลังจากเขียนเสร็จแล้วก็ส่งให้อาจารย์แล้วอาจารย์ก็แจกใหกลุ่มละ 3-4 เรื่อง ให้อ่านแล้วก็คอมเมนต์ค่ะ พออ่านของคนอื่นแล้วรู้สึกว่าเรื่องที่เขียนนี่สะท้อนตัวคนเขียนได้จริงๆ อ่านแล้วสนุกมากค่ะ 555 ส่วนคอมเมนต์ที่เราได้มาก็มีประมาณนี้ค่ะ



ข้อดี

- ใช้臨場感ได้ดี อธิบายการเคลื่อนไหวของตัวละครในเรื่องได้ดี 
- มีการใช้受け身 เนื้อเรื่องสนุกชวนติดตาม
- อธิบายความรู้สึกของปลาได้ดีราวกับตัวผู้เล่าเป็นปลาเสียเอง 
- จบได้ดีมากคาดไม่ถึง 完璧! น่าจะเอาไปสร้างเป็นอนิเมชั่น น่ารัก

ข้อเสีย

- อยากรู้สี กับลักษณะปลาอีกสักนิด อาจจะเพิ่มส่วนนี้ในบทพูดของตัวละครตัวอื่น



     สารภาพว่าจริงๆตอนที่เราส่งไปเราก็รู้สึกว่าบรรยายไม่ค่อยละเอียดเหมือนกันค่ะ....แต่พอตอนที่จะเพิ่มหน้าตาของคนที่มาช้อนปลาทองไปเราก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่...555 ในหัวเรารู้สึกว่าภาพที่ปลาเห็นจะต้องเป็นภาพเบลอๆที่มองไม่เห็นหน้าทั้งคนช้อนทันเพื่อนของคนช้อนแน่ๆเลย (จริงๆยังไม่ได้กำหนดเพศให้ด้วยซ้ำ 555) ก็เลยไม่ได้เขียนเพิ่มไป แต่พอมีคอมเมนต์บอกว่าอยากรู้สักษณะปลาเราเลยแบบ เออ จริงด้วย ทำไมเราไม่อธิบายลักษณะปลานะ 555 

     แต่พอจะเขียนบรรยายเพิ่มเราก็ลังเลว่าจะบรรยายยังไงดี 55 จะเขียนบรรยายจากบทพูดของตัวละครอื่นก็รู้สึกว่ามันจะดึงออกจากมุมมองของปลาทองมากเกินไป แต่จะอธิบายจากมุมมองปลาทองก็ไม่รู้ว่าอยู่ๆมันจะมาอธิบายหน้าตาตัวเองทำไม คิดไปคิดมาก็เลยรู้สึกว่าอยากให้ปลาทองมีปมด้วยที่หน้าตาตัวเอง ทำให้รู้สึกว่าคงไม่มีใครมาช้อนมันไป ตอนแรกเลยคิดว่าจะให้เป็นปลาทองสีดำค่ะ 55 แต่พอลองมองภาพแล้วรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเข้ากับบรรยากาศงานเทศกาลเลย สุดท้ายเลยให้เป็นสีแดง แค่ตัวเล็กแล้วก็สีอ่อนไปค่ะ

ที่เราแก้แล้วก็มีแค่เพิ่มประโยคสีแดงเข้าไปประโยคเดียวค่ะ

 今夜は最後日、ボロボロになった薄い紙からこぼれ落ちた僕らはもうすくわれないだろう。僕は小さくて色が薄くて、他の友達みたいにきれいじゃないから、誰も僕のことなんかいらないだろ。色とりどりの光が水面に映って、僕の目にはこの世界がぼやけて見えた。






3. ให้อาจารย์แก้

     รอมนี้ก็แดงกลับมาเต็มเช่นเคยค่ะ ส่วนนึงเป็นด้วยความเด๋อของเรา พิมพ์ผิดบ้าง ลบไม่หมดบ้าง ฮือ ขอโทษค่ะ..../กราบ ทีอาจารย์แก้ให้ก็มีประมาณนี้ค่ะ



แก้การเขียนอธิบาย

あの人がバランスを崩して前に倒れるのが目に入った。しかし、僕はその方向と違って → あの人と一緒に前に倒れたのではなく、下に落ちているのを感じた。

     อันนี้ตรง その方向と違って อาจารย์คอมเมนต์มาบอกว่าไม่เขาใจ ฮือ คือเราต้องการจะให้เห็นภาพว่าคนที่ช้อนปลามาทำถุงใส่ปลามองหลุดจากมือแล้ว ปลาทองเลยไม่ได้ล้มไปข้างหน้ากับคน แต่ร่วงลงไปข้างล่างแทนค่ะ ตอนเขียนก็รู้สึกว่ามันเข้าใจยากเหมือนกัน ฮือ เลยลองแก้เป็นอย่างงี้ดู แต่ไม่รู้เข้าใจง่ายกว่ามั้ย? 55
แก้คำศัพท์

この2日間、この箱に沢山いた僕の友達はだんだん減って行った。→ 減っていった

     อาจารย์อธิบายว่าถ้า 行った มันจะให้แสดงการไปจริงๆ เวลาแสดงการเปลี่ยนแปลงจะใช้ いった ค่ะ จริงๆตอนแรกตรงนี้เราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าใช้行ったได้มั้ย ปรกติเลยจะใช้ いった เพราะยังไงก็ไม่น่าผิดแน่ๆ 555 แต่คราวนี้คงเผลอกดสเปสบาร์ไป....55


今夜は最後日 最終日、ボロボロになった薄い紙からこぼれ落ちた僕らはもうすくわれないだろう。



แก้接続詞

     ตรงนี้อาจารย์บอกว่าถ้าใช้เป็นคำนามประสมจะใช้ 最終日 ค่ะ ถ้าจะใช้ 最後 จะต้องเป็น 最後の日 ฮือ เราไม่เคยสังเกตมาก่อนเลย...555

そこで そのとき、ある人が僕の世界を隠すように、箱の上影を落とした。

     อันนี้อาจารย์แก้ที่เราใช้ そこで ให้เป็น そのとき ค่ะ พอไปหาดูแล้ว そこで เป็น 接続詞 ที่ให้บอกเหตุและผลว่า ประโยคข้างหน้ามีส่วนให้เกิดประโยคข้างหลัง พอดูในบริบทแล้วที่เราเขียนไม่เกี่ยวกับเหตุและผลจริงๆ....555 ส่วนตรง 箱の上 ตอนเขีนยไปเราก็รู้สึกแปลกที่ใช้ลูกน้ำคร่อมเหมือนกัน พอใช้ลูกน้ำคร่อมแล้วเหมือนเป็นส่วนที่ละได้ยังไงก็ไม่รู้ แต่ตอนนั้นไม่รู้จะแก้ยังไงดี ที่อาจารย์แก้มาให้คือใช้ に แทนลูกน้ำอันหลังค่ะ

そして、その薄く弱い紙で僕を優しくすくってくれた。

     อันนี้อาจารย์วงเล็บมาให้ คือจะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ไม่ใส่ก็ไม่ผิด แต่เราว่าใส่แล้วมันดูไหลลื่นกว่าจริงๆค่ะ พอเขียนเรื่องนี้ทำให้เรารู้เลยว่าเราอ่อนเรื่องการใช้ 接続詞 จริงๆ...;w;



แก้คำช่วยและแกรมม่า

空気に触れた体は心地悪いが、怖くなかった。

     อันนี้อาจารย์ใส่ は เพิ่มมาให้ค่ะ เราไม่แน่ใจว่าไม่ใส่ は แล้วผิดมั้ย (ใครรู้บอกเราที...555) แต่ใส่แล้วให้ความรู้สึกหนักแน่นกว่าเลยใส่เพิ่มเข้าไปค่ะ  

目に入った全て 新鮮に感じた。

     อันนี้อาจารย์แก้ は ให้เป็น を ค่ะ อืม ถ้าเป็น は ประทานจะเป็นของที่ 目に入った แทน ทั้งๆที่ประทานของ 感じた คือปลาทองต่างหาก

「そろそろ、花火大会が始まるよ」と隣の人から声がした。

     อันนี้เราก็ไม่แน่ใจว่าถ้าเป็น 隣の人から声がした แล้วจะผิดมั้ย ตอนนี้คิดว่า ~から声がした มันต้องบวกกับสถานที่คือทิศทางรึเปล่า อาจารย์เลยแก้ตรงนี้มาให้ อาจารย์วงเล็บมาให้อีกแบบว่า 隣の人の声がした ก็ได้ค่ะ แต่เราชอบแบบ 隣から声がした มากกว่าค่ะ มันดูบอกทิศทางมากกว่า อีกอันมันดูบอกจากมุมมองว่าเสียงของใคร แต่ปลาทองมันคงแยกเสียงไม่ได้รึเปล่า หรือจริงๆอาจจะไม่เกี่ยว (?) 555

同じはずなのに、あのときと違って、心のどこかで諦めを感じた。

      อันนี้เราเผลอใส่ な เกินค่ะ はず บวกな形容詞ได้เลย ไม่ต้องใส่なค่ะ ฮือ เราเอ๋อเองง /ร้อง

僕のいる場所から花火 → 見えないが、目をキラキラと光らせた人たちの顔が見える。

     อันนี้ก็ผิดแกรมม่าอีกแล้วค่ะ ฮือ 55 รูปสามารถปฏิเสธใช้กับคำช่วย は ค่ะ ฮือ สติอยู่ไหน จริงๆมีที่ผิดเพราะพิมพ์ผิดอีก แต่ขอไม่เอามาลงละกัน ไม่งั้นจะยาวเกิน 555 หลังจากผ่านการแก้มากมายมา ฉบับสุดท้ายเราก็เป็นแบบนี้ค่ะ!



金魚すくい


(藤田麻衣子の「金魚すくい」をモチーフにした話です。)


 僕は今日も青いプラスチックの箱を泳ぎ回る。色んな人がそのプラスチック箱の上に顔を出して、薄い紙が貼ってある円形のプラスチック枠で僕らをすくう。この2日間、この箱に沢山いた僕の友達はだんだん減っていった。今夜は最終日、ボロボロになった薄い紙からこぼれ落ちた僕らはもうすくわれないだろう。僕は小さくて色が薄くて、他の友達みたいにきれいじゃないから、誰も僕のことなんかいらないだろう。色とりどりの光が水面に映って、僕の目にはこの世界がぼやけて見えた。そのとき、ある人が僕の世界を隠すように、箱の上に影を落とした。そして、その薄く弱い紙で僕を優しくすくってくれた。空気に触れた体は心地悪いが、怖くはなかった。

 僕は水と一緒に透明なビニール袋に入れられた。外の世界は少しだけはっきり見えるようになった。袋の口は赤い輪ゴムで縛られ、袋の中の僕はあの人の手で揺られた。揺りかごの中にいるようなゆらゆらとした気持ちで見たことない世界に目を光らせた。すれ違う人々の笑顔、食べ物を焼く煙、匂いが分からないが、目に入った全てを新鮮に感じた。あの人は誰かと肩を並べて、楽しそうに笑いながら、狭い道をゆっくり歩いた。

「そろそろ、花火大会が始まるよ」と隣から声がした。

花火…聞いたことある言葉だ。確か、空に咲いたキラキラの光のことだ。そんな綺麗なものが見られるの?!嬉しさのあまり、僕は小さな袋を泳ぎ回った。

「ほら、はやく行かないと始まっちゃう」隣の人があの人の手を引っ張って走り出したのがビニール袋の中から見えた。

 途端に、強い振動がした。あの人がバランスを崩して前に倒れるのが目に入った。しかし、僕はあの人と一緒に前に倒れたのではなく、下に落ちているのを感じた。人混みに飲み込まれそうなあの人は僕の方に振り返って、手を伸ばしてきたが、人の波に押されて、だんだん離れていったのを僕は重力に引かれながら眺めていた。

 水風船が割れたような、ビニール袋が地面を叩いた音は、騒がしい祭りの中、誰の耳にも届かなかった。あの人がすくってくれたときと同じように、体が空気に包まれた。同じはずなのに、あのときと違って、心のどこかで諦めを感じた。やはり自分はすくわれないのだと、僕はぼんやり思いながら、歩いている人々を見上げた。そのとき、バンと大きい音が響いた。たぶん、それは花火の音だろう。僕のいる場所から花火は見えないが、目をキラキラと光らせた人たちの顔が見える。花火というのはこんなに人を幸せにできるものだな…見られないのは残念だ。でも、こんな幸せで満ちた空間に触れられただけでも十分な気がする。

「あ、なんか踏んだ。」
「え、なになに、うわ!金魚じゃん!」
「うわ!気持ち悪っ!」

地面に張り付いた小さな金魚、それをすくってくれる人はなかった。





     รอบนี้จริงๆรู้สึกว่าที่ดีคือพล็อตเรื่อง (ซึ่งไปเอาของคนอื่นมา.../ผิด) แต่ส่วนการเขียนบรรยายให้เห็นภาพยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ทั้งด้วยปัญหาด้านภาษาแล้วก็ความไม่ละเอียดของเราด้วยค่ะ


สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเขียนครั้งนี้


1. ต้องไปศึกษาเรื่อง 接続詞 เพิ่ม

2. ต้องไปเพิ่มคลังคำในสมอง ที่นีอยู่ตอนนี้ไม่ค่อยพอใช้ค่ะ...

3. ต้อง 意識 ว่าเราเขียนจากมุมมองของใคร ซึ่งไม่มีใครคอมเมนต์มาว่าควรให้แก้ในจุดนั้น เราเลยคิดว่าเราทำได้ค่อนข้างโอเคแล้ว (มั้ง?)

4. ต้องทำงานละเอียดรอบคอบกว่านี้ (อันนี้ก็เขียนทุกครั้ง แต่ก็ยังแก้ไม่ได้สักที ฮือ)


    ที่ได้เรียนรู้ไปก็จะเป็นประมาณนี้ค่ะ ลองเขียนรอบนี้แล้วรู้สึกว่าสนุกดี ไว้ว่างๆจะลองเขียนอีกค่ะ รอบหน้าเราอยากจะลองคิดพล็อตเองให้ได้ดีๆบ้าง แต่ไม่รู้จะทำได้มั้ย ฮือ 555 ส่วนของเรื่องนี้ถ้าใครมีคอมเมนต์อะไรเพิ่มเติมก็บอกได้นะคะ แล้วเราจะเอาไปปรับปรุงในครั้งต่อไปค่ะ ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้ค่ะ !



Thursday, April 13, 2017

いい聞き手とは?:あいづち

     สวัสดีวันสงกรานต์ค่ะะะ ฮืออ ในที่สุดเราก็ได้หยุดดดดดด /แทบจะจุดพลุฉลอง แต่ถึงจะเป็นวันหยุดก็ยังมีการบ้านกองเท่าภูเขาที่ต้องจัดการอยู่ดี....ฮือ เราจะพยายามเคลียร์ไปวันละนิดนะคะ....อย่างแรกก็ทำวิชานี้ก่อนเลยละกัน....




     การบ้านคราวนี้คือให้ฟังรายการวิทยุของ TBS ラジオ แล้วดูการใช้ あいづち ของพิธีกรหญิงแล้วดูว่า ตอนไหนที่เขาจะโต้ตอบ แล้วก็สำนวนใดที่มักจะใช้โต้ตอบค่ะ รายการสามารถฟังย้อนหลังได้ในเว็บนี้ค่ะ แต่ต้องสมัครก่อนนะ แล้วเราก็เลยไปลองฟังมาสองสามอัน ที่ไปฟังมาก็มีตามนี้ค่ะ

1.「必死に走った話―通勤電車に乗り遅れそうになって励まされた話―」
2.「必死に走った話―××似の友人を叫んで追いかけた話―」
3.「必死に走った話―農道を牛が走ってきた話―」

แล้วก็เรื่อง「英語と私―イギリス人の旦那さんの愛情表現―」ที่ฟังในห้องค่ะ




     จากที่เราไปฟังมา มีความรู้สึกว่าพิธีกรหญิงคือมีหน้าที่เหมือนตอบรับเฉยๆ ให้พิธีกรไม่รู้สึกเหมือนพูดคนเดียว 555 คือเธอไม่แสดงความคิดเห็นอะไรเลย แล้วอีกอย่างที่สังเกตคือเธอหัวเราะบ่อยมาก แล้วเสียงหัวเราะเธอดูขำจริงจังมาก 5555 บางทีเราก็สังสัยว่าการพูดที่เหมือนพิธีกรพูดอยู่ฝ่ายเดียวแบบนี้มันดีแล้วจริงๆเหรอ 555 หรืออาจจะเพราะเป็นรายการวิทยุที่เวลาจำกัดเลยพูดมากไม่ได้รึเปล่านะ ?




ใช้ あいづち ตอนไหน


1. เกือบทั้งหมดจะพูดตอนที่จบประโยคหรือตรงที่ใส่、ได้

     วิธีนี้ก็ก็น่าจะเป็นหลักการทั่วๆไปที่พูดตอบรับหลังจากอีกฝ่ายพูดจบประโยค จะได้ไม่เป็นการกวนตอนที่อีกฝ่ายพูดอยู่ แต่พอลองพูดเข้าจริงๆแล้ว เราจะชอบกะผิด นึกว่าเขาจะพูดจบประโยคแล้ว แต่จริงๆยังไม่จบ ทำให้พอพูด あいづち ออกไปแล้วเหมือนไปพูดแทรกเขา แต่พิธีกรหญิงคนนี้แทบไม่มีการกะผิดแบบเราเลยค่ะ นี่คือความความมืออาชีพสินะ...


2.  ตอนที่อีกฝ่ายจบประโยคด้วยคำลงท้ายที่ต้องการการเห็นด้วยจากอีกฝ่าย

     ตอนที่พิธีกรชายพูดคำลงท้ายประโยคด้วย ~ね หรือ ~でしょ รู้สึกว่าฝ่ายพิธีกรหญิงจะใช้ あいづち ตอบกลับแทบทุกรอบเลยค่ะ แต่จริงๆก็รู้สึกว่าพิธีกรหญิงใช้ あいづち เยอะมาก แทบจะทุกประโยคอยู่แล้ว เลยไม่แน่ใจว่าเรื่องคำลงท้ายประโยคนี่เกี่ยวจริงๆรึเปล่าค่ะ 555



   
ใช้ あいづち แบบไหน

1. หัวเราะ

     ไม่แน่ใจว่าเสียงหัวเราะนับเป็น あいづち มั้ย แต่ว่าเธอหัวเราะบ่อยมาก 555 แล้วอาจจะเป็นเพราะเสียงหัวเราะของเธอมันฟังดูขำมากเลยทำให้เรื่องสูสนุกด้วยรึเปล่าก็ไม่รู้ 55


2. あいづち แสดงการรับรู้

     พวก へー、はいー、んー、ほー เป็นต้นค่ะ พวก あいづち กลุ่มนี้ เรารู้สึกเหมือนเป็นกลุ่มที่ใช้เวลามีคนเล่าเรื่องที่ค่อนข้างยาว แสดงว่าเราฟังอยู่นะ เหมือนเวลามีคนเล่าเรื่องแล้วเรา อืมๆ ในภาษาไทยค่ะ รู้สึกว่าพิธีกรหญิงใช้ あいづち กลุ่มนี้เยอะมากก อาจจะเป็นเพราะตัวรายการเป็นการเล่าเรื่อง พิธีกรหญิงที่เป็นคนตอบรับเลยใช้ あいづち ประเภทนี้เยอะ?


3. あいづち ตอบรับ

    พวก はい、うん เป็นต้นค่ะ รู้สึกว่า あいづち ตอบรับจะเป็น あいづち ที่หนักแน่นกว่ากลุ่มแสดงการรับรู้หน่อยนึงค่ะ อาจจะเพราะมันหนักกว่า เลยเห็นการใช้น้อยกว่า あいづち แสดงการรับรู้ก็ได้ค่ะ (เดาเอา...555)


4. あいづち แสดงความเห็นด้วย

    กลุ่มนี้จะเป็นพวก ねー、そうですね ค่ะ กลุ่มนี้สังเกตว่าจะใช้ตอนที่พิธีกรฝ่ายชายมีการใช้คำลงท้ายพวก ~ね มาก่อนค่ะ แล้วฝ่ายหญิงถึงจะให้พวก そうですね ตาม


5. ทวนคำพูด

     บางทีพิธีกรหญิงจะมีการทวนคำพูดที่พิธีกรชายพูดมาก่อนหน้านี้ค่ะ อย่างเช่นพิธีกรผู้ชายพูดว่าいーねー พิธีกรหญิงก็ทวนคำว่า いいですねー เป็นต้นค่ะ




     จากที่เราฟังๆมาก็ได้ข้อสรุปประมาณนี้ค่ะ รู้สึกว่าพิธีกรหญิงที่คนที่จับโฟลวของบทสนทนาได้ดีมาก แล้วก็พยายามจับจังหวะพูดไม่ให้ไปกวนพิธีกรชายที่เป็นพิธีกรหลักได้ดีมากเลยค่ะ ไว้เราจะศึกษาไปใช้บ้าง (จะทำได้มั้ย ฮือ 555) วันนี้อาจจะสั้งไปหน่อย แต่ก็ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะคะ







Saturday, April 8, 2017

มาช้อนปลาทองกันเถอะ~

    สวัสดีค่ะ ช่วงนี้แทบไม่ได้อัพบล็อคเลย ช่วงก่อนหน้านี้งานทับถมมากค่ะ จะตายแล้ว 555 ช่วงนี้มีเวลาว่างขึ้นหน่อยนึง (เหมือนช่วงลมสงบก่อนพายุไฟนอลจะมาก 555) เลยแว่บมาอัพบล็อคหน่อยนึงค่ะ (ฮืออ เราอยากว่างจังงง /นอนแผ่)

     การบ้านเรื่องการเขียนบรรยายคราวที่แล้วเราเขียนเรื่องช้อนปลาทองไปค่ะ เป็นเรื่องที่เราได้แรงบันดาลใจ (จะเรียกว่าได้แรงบันดาลใจได้มั้ยเนี่ย ไปเอาพล็อตเขามาเกือบหมดเลย 555) มาจากเพลง金魚すくい ของ 藤田麻衣子 ค่ะ แล้วจริงๆที่เราไปรู้จักเพลงนี้เพราะเคยอ่านการ์ตูนที่คนเขียนใช้เพลงนี้เป็นธีมของเรื่องค่ะ 555 แต่การ์ตูนเรื่องนั้นเขาทำให้ตัวเอกเป็นคนที่ถูกช่วยออกมาจากที่ที่เขาโดนกักขังไว้ แต่สุดท้ายออกมาแล้วก็ตายอยู่ดีค่ะ ตอนอ่านการ์ตูนเรื่องนั้นจำได้ว่าร้องไห้หนักมาก ฮือ แล้วก็ชอบมากจนไปหาเพลงนี้มาฟัง พอฟังเพลงแล้วก็ชอบมากเหมือนกันค่ะ



(藤田麻衣子―魚すくい)


     ตอนก่อนจะเขียนก็ได้ไปหาข้อมูลเรื่องการช้อนปลาทองมาบ้าง (แต่ก็ไม่ได้ใช้อะไรเลย 555) เลยคิดว่าจะลองเอามาเขียนรวมในไว้บล็อคดูค่ะ แต่จริงๆมันก็ไม่ได้มีเยอะเท่าไหร่หรอก 55



ประวัติการช้อนปลาทอง

     จริงๆคิดว่าทุกคนคงจะรู้จักการช้อนปลาทองที่ชอบมีอยู่ตามงานเทศกาลของญี่ปุ่นกันอยู่แล้วเลยจะขอไม่อธิบายการชอนปลาทองในปัจจุบันนะคะ 55 จากที่เราไปหาๆมา การช้อนปลาทองมีมาตั้งแต่สมัยเอโดะค่ะ เห็นว่าเมื่อก่อนจะช้อนกันในเรือไม้ (เข้าใจว่าน่าจะเอาเรือมาทำเป็นอ่านค่ะ 55) หรือไม่ก็ในบ่อน้ำในสวนญี่ปุ่นค่ะ ส่วนของที่ใช้ช้อนก็เป็นตาข่ายปรกติ ไม่ใช่ไม้ขึงกระดาษที่ขาดง่ายๆแบบทกวันนี้ เป็นการแข่งกันว่าใครจะช้อนได้เยอะกว่ากันในเวลาที่กำหนดเฉยๆค่ะ แล้วพอช้อนแล้วก็เอากลับบ้านไม่ได้ด้วยค่ะ 55
     พอถึงช่วงกลางๆเมจิถึงได้เริ่มมีการให้เอาปลาทองที่ช้อนมากลับบ้านได้ค่ะ พอให้เอากลับบ้านได้คนขายเลยต้องหาวิธีให้มันช้อนยากขึ้น ไม่งั้นไม่เหลือปลาพอดี เลยเริ่มใช้ไม้ช้อนที่ขึงด้วยกระดาษแบบทุกวันนี้ค่ะ แต่สมัยก่อนจะใช้เป็นด้ามโลหะค่ะ แล้วพอถึงช่วงปลายยุคไทโชก็กลายมาเป็นการช้อนปลาทองแบบที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ค่ะ



ไม้ช้อนปลาทอง

     จริงๆก็มีอยู่แค่สองอย่างค่ะ คือปลา กับไม้ช้อนปลา 555 ตอนเขียนๆไปไม่รู้จะเรียกไม้ช้อนปลาว่าอะไรดี พอไปหาดูแล้วเหมือนเขาจะเรียกว่า ポイ หรือบางทีเรียกว่า すくい枠 ก็มีค่ะ ปัจจุบันจะเป็นด้ามพลาสติก แล้วกระดาษที่ขึงก็มีระดับความหนาบางด้วยค่ะ ความหนาจะมีระดับ 4号〜8号 แต่ที่ขายอยู่ทั่วไปจะนิยมเรียกเป็นคำบอกระดับเช่น 強・並・弱 มากกว่าค่ะ นอกจากนี้แล้ว ポイ ยังมีทั้งแบบใช้แล้วทิ้งกับแบบที่พอกระดาษขาดก็เอากระดาษใหม่มาใส่แล้วใช้ซ้ำได้ด้วยค่ะ



ปลาทองที่ใช้ในการช้อนปลาทอง

     คำว่าปลาทองในภาษาไทย พอพูดแล้วเรารู้สึกว่าจะนึกถึงปลาทองหัวใหญ่ๆที่มีโหนกยังไงก็ไม่รู้ ไม่รู้คนอื่นเป็นเหมือนเรามั้ย 555 แต่คำว่า 金魚 เรารู้สึกว่ามันทำให้นึกถึงปลาทองตัวเล็กๆมากกว่า ตอนเขียนเรื่องช้อนปลาทอง มีคนคอมเมนต์ว่าอยากให้อธิบายหน้าตาปลาทองมากกว่านี้ เราเลยไปหาพันธุ์ของปลาทองมา แต่สรุปก็ไม่ได้เขียนไปละเอียดอยู่ดี 555 ที่เราหามาก็มีประมาณนี้ค่ะ



小赤(こあか)


(ที่มา : http://koushinbi-mitei.blog.so-net.ne.jp/2014-06-12)


     ปลา 小赤 เป็นปลาที่เห็นใช้กันเยอะที่สุดค่ะ ขนาดจะเล็กๆ 小赤 เป็นคำที่ใช้เรียก ปลา 和金 ที่มีขนาดประมาณ 5 เซ็นค่ะ (ปลาทองในเรื่องที่เราเขียนก็เป็นปลาทองพันธุ์นี้ค่ะ ถึงจะไม่ได้เขียนไปในเรื่องก็เถอะ 555)



出目金(でめきん)

     คือ...มันเป็นปลาทองที่เรารู้สึกว่าหน้าตามันแย่มากค่ะ 5555 ปลาพันธุ์นี้เห็นมีใช้ทั้งสีดำแล้วก็สีส้มเลยค่ะ แต่รู้สึกว่าไม่ว่าสีไหนมันก็หน้าตาแย่พอกัน ฮือ...555 หน้าตาก็จะประมาณนี้...


(ที่มา : https://www.shopping-charm.jp/ItemDetail.aspx?itemId=18720)


ประมาณนี้....


(ที่มา : https://matome.naver.jp/odai/2146750982763635301/2146751029064005003)


     ที่มาของชื่อพันธุ์ 出目金 มาจากการที่ตาของมันโปนออกมา (อย่างน่ากลัว) นั่นเองค่ะ...เหมือนว่ามันจะถูกใช้เป็นอาหารสำหรับปลาพันธุ์ใหญ่ด้วยค่ะ ตอนแรกเรากะให้ปลาทองในเรื่องเป็นปลาทองพันธุ์นี้สีดำ แล้วให้มันมีปมว่าหน้าตาแย่ แต่มันหน้าตาแย่ไปนิด สรุปก็เลยให้เป็นปลา 小赤 ไปแทนค่ะ 555



姉金(あねきん)

     มันก็คือ 小赤 ขนาดกลางนั่นเองค่ะ 555 หน้าตาเหมือน 小赤 เลย (เพราะงั้นเราจะไม่แปะรูปนะคะ 555) เพราะยังไงทั้งคู่ก็คือ 和金 เหมือนกัน แต่ 姉金 จะเป็นคำเรียก 和金 ที่ขนาดประมาณ 10 เซ็นค่ะ

     นอกจากนี้แล้วบางทีก็มีพันธุ์หรูๆใส่มาบ้าง อย่างพวกオランダシシガシラ (ปลาทองแบบที่จะนึกถึงเวลาพูดคำว่าปลาทองในภาษาไทย 555) แต่จะใส่มานิดเดียวค่ะ เขาจะเรียกว่า 大物 ตอนหาๆรูปอยู่เห็นว่ามีเจ้าที่ใส่ปลาคาร์ฟตัวเล็กๆลงไปด้วย ยิ่งใหญ่มาก 555  





     เย ที่เราหาๆมาก็มีประมาณนี้ค่ะ (ไม่ได้ใช้ในเรื่องที่เขียนไปตรงไหนเลย 555) ที่มาของข้อมูลเรื่องประวัติมาจากเว็บนี้ค่ะ ส่วนข้อมูลเรื่องพันธุ์ปลาที่ใช้กับเรื่องไม้ช้อนปลาส่วนใหญ่มาจากวิกิค่ะ ตอนแรกตกใจมากที่มีวิกิเรื่องการช้อนปลาทองด้วย 555 เรื่องที่จะเขียนวันนี้ก็มีประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่ะ