ที่อาจารย์ให้ทำในห้องคือให้จับคู่กับเพื่อนแล้วนั่งหันหน้าเข้าหากัน ฝ่ายนึงจะเห็นรูปที่ฉายบนจอหน้าห้อง ส่วนอีกคนจะไม่เห็น แล้วคนที่เห็นภาพจะต้องอธิบายสถานการณ์ในรูปให้คนที่ไม่เห็นฟังค่ะ
รูปที่เราได้เป็นรูปแรกคือรูปนี้ค่ะ
ดูตอนแรกเราไม่เข้าใจเลยค่ะว่ารูปมันหมายความว่าอะไร 5555 จนให้คนอื่นอธิบายถึงได้เข้าใจว่ามันทำอะไรอยู่ แต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าเขาต้องการจะสื่ออะไร 5555 เราเลยพูดไปแบบงงๆค่ะ
คือ......การบ้านที่ได้มาคือให้อัดเสียงแล้วมาถอดเทป แต่พอเราฟังที่เราอัดมาปรากฏว่าเรากดผิดค่ะ..........คือตอนเริ่มอัดไปสักพักมือเราคงเผลอไปโดนปุ่มหยุด แล้วพอพูดเสร็จกดหยุดมันก็พลายเป็นเริ่มอัดต่อแทน.......ฮืออออออออ เราจะพยายามเขียนมาจากความจำเอานะคะ ฮือ.....
ที่เราพูดมาจะเป็นประมาณนี้ค่ะ
犬と子供がいて、で、子供が、犬の後ろに乗ろうと思って、(จนถึงตรงนี้คือที่อัดเสียงมา ต่อจากนี้จะเป็นที่มาจากความจำค่ะ......) 馬に乗るみたいに...子供は犬に近づいて、でもそのとき犬がおきて、子供が犬と目が合った。だから、子供は犬の後ろから入ろうと思って、ぐるーと後ろに回った。でも犬も体の方向を変えて、後ろを向いたので、子供がまた犬と顔合わせになった。
เสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เราดูที่คนญี่ปุ่นเขียนบรรยายภาพนี้ 表現 ที่เราชอบหรือคิดว่าน่าจะเอามาใช้จะมีประมาณนี้ค่ะ
1 . 犬の上に乗って遊ぶ
2 . きょとんとする
3 . ハイハイする
4 . 犬が目をあける ← อันนี้คิดว่าน่าจะเอามาให้เพราะพอบอกเพื่อนว่า犬がおきて แล้วเพื่อนนึกว่าหมาลุกขึ้นยืน เลยคิดว่าน่าจะใช้อันนี้แทนจะชัดเจนกว่าค่ะ
แล้วหลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายว่าการบรรยายที่ดีมันเป็นยังไงบ้าง สรุปได้ว่าการบรรยายที่ดีจะต้องเป็นการบรรยายที่ทำให้เกิด 臨場感 ค่ะ และสิ่งที่ทำให้เกิด 臨場感 หลักๆก็คือ 3 อย่างนี้ค่ะ
1 . 文末表現
พวก ~てくる、~てしまう เป็นต้นค่ะ พอมีแล้วมันจะทำให้ประโยคมาอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการจบประโยคแบบห้วนๆค่ะ
2 . オノマトペ
หรือก็คือคำเลียนเสียงธรรมชาตินั่นเองค่ะ ที่เราใช้ไปก็มี ぐるーと ใช้ตอนที่บอกว่าเด็กคลานอ้อมไปค่ะ การใช้ オノマトペ จะทำให้เกิดความมีชีวิตชีวาในการบรรยาย เหมือนเวลาเราใช้คำอย่าง ฟรุ้งฟริ้ง ในภาษาไทยค่ะ (เหมือนมั้ยนะ 555)
3 . 複合動詞
複合動詞 ก็คือกริยาผสมค่ะ อย่างเช่น 回り込む เป็นต้นค่ะ เราคิดว่าการใช้ 複合動詞 น่าจะทำให้การอธิบายชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ เพราะเราใส่ความหมายที่เจอจงเข้าไปกว่าเดิม อย่าง 回り込む ชัดเจนกว่า 回る ว่าไม่ใช่แค่วนไปรอบๆเฉยๆนะ
พอเรียนกันไปแล้ว อาจารย์ก็ให้ลองทำอีกรอบค่ะ คราวนี้รูปที่เราได้คือรูปนี้ค่ะ
คราวนี้ที่เราพูดไปจะเป็นแบบนี้ค่ะ! (ไม่กดผิดแล้วนะ...;w;)
男の人がホテルのロビーで、あ、ソファー...ホテルのロビーのソファーで...に...に座っています。で、隣は、なんか、一人のおじさんが新聞を読んでいます。で、その男が周りを見ると、なんか、えっと...、地図を持っている外国人と目があって、その外国人が、なんか、道を聞こうとして近づいて来たんですが、その男が、えー、たぶん、外国人と話したくないので、その隣のおじさんに近づいていって、そのおじさんが読んでいる新聞の後ろに隠れた。
อืม...รู้สึกว่าเนื้อหารู้เรื่องมากขึ้น (เพราะคนพูดเข้าใจเนื้อหามากกว่าอันที่แล้ว 555) แต่รู้สึกว่าการสื่ออารมณ์ (?) น้อยลงค่ะ ตอนครั้งแรงเรายังมีการใช้ オノマトペ บ้าง แต่รู้สึกว่าอันหลังไม่มีเลยค่ะ เป็นเหมือนการบอกข้อมูลเฉยๆ
พอมาเทียบกันสองอันแล้วทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราต้องระวังคือ
1 . พยายามทำให้เกิด 臨場感 มากขึ้น โดยที่ข้อมูลยังถูกต้องและเข้าใจง่าย
2 . พยายามใช้ 複合動詞 ให้มากขึ้น จะเห็นว่าในที่พูดไปสองครั้งเราไม่ได้ใช้ 複合動詞 เลยสักครั้งค่ะ
3 . พยายามทำความเข้าใจข้อมูลก่อนจะนำไปอธิบาย..... พอไม่เข้าใจแล้วมันก็อธิบายไม่ได้จริงๆค่ะ 555
วันนี้ก็มีประมาณนี้ค่ะ เนื้อหาอาจจะน้อยๆไปหน่อย (รึเปล่า? 555) แต่ก็ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตอนนี้นะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่ะ
บางสถานการณ์หากใส่คำท้ายประโยค เช่น てしまいました ลงไปจะทำให้เรื่องมีรสชาติมากขึ้นนะคะ
ReplyDeleteだいぶ前のタスクですが・・・
ReplyDelete臨場感、なかなか難しいですよね。赤ちゃんと犬の話の、「ぐるー」はわかりやすくていいと思います。外国人のほうでも、表情や動き、気持ちの描写にオノマトペを入れられるようになれば、もっとよくなりそうですね。