Thursday, April 13, 2017

いい聞き手とは?:あいづち

     สวัสดีวันสงกรานต์ค่ะะะ ฮืออ ในที่สุดเราก็ได้หยุดดดดดด /แทบจะจุดพลุฉลอง แต่ถึงจะเป็นวันหยุดก็ยังมีการบ้านกองเท่าภูเขาที่ต้องจัดการอยู่ดี....ฮือ เราจะพยายามเคลียร์ไปวันละนิดนะคะ....อย่างแรกก็ทำวิชานี้ก่อนเลยละกัน....




     การบ้านคราวนี้คือให้ฟังรายการวิทยุของ TBS ラジオ แล้วดูการใช้ あいづち ของพิธีกรหญิงแล้วดูว่า ตอนไหนที่เขาจะโต้ตอบ แล้วก็สำนวนใดที่มักจะใช้โต้ตอบค่ะ รายการสามารถฟังย้อนหลังได้ในเว็บนี้ค่ะ แต่ต้องสมัครก่อนนะ แล้วเราก็เลยไปลองฟังมาสองสามอัน ที่ไปฟังมาก็มีตามนี้ค่ะ

1.「必死に走った話―通勤電車に乗り遅れそうになって励まされた話―」
2.「必死に走った話―××似の友人を叫んで追いかけた話―」
3.「必死に走った話―農道を牛が走ってきた話―」

แล้วก็เรื่อง「英語と私―イギリス人の旦那さんの愛情表現―」ที่ฟังในห้องค่ะ




     จากที่เราไปฟังมา มีความรู้สึกว่าพิธีกรหญิงคือมีหน้าที่เหมือนตอบรับเฉยๆ ให้พิธีกรไม่รู้สึกเหมือนพูดคนเดียว 555 คือเธอไม่แสดงความคิดเห็นอะไรเลย แล้วอีกอย่างที่สังเกตคือเธอหัวเราะบ่อยมาก แล้วเสียงหัวเราะเธอดูขำจริงจังมาก 5555 บางทีเราก็สังสัยว่าการพูดที่เหมือนพิธีกรพูดอยู่ฝ่ายเดียวแบบนี้มันดีแล้วจริงๆเหรอ 555 หรืออาจจะเพราะเป็นรายการวิทยุที่เวลาจำกัดเลยพูดมากไม่ได้รึเปล่านะ ?




ใช้ あいづち ตอนไหน


1. เกือบทั้งหมดจะพูดตอนที่จบประโยคหรือตรงที่ใส่、ได้

     วิธีนี้ก็ก็น่าจะเป็นหลักการทั่วๆไปที่พูดตอบรับหลังจากอีกฝ่ายพูดจบประโยค จะได้ไม่เป็นการกวนตอนที่อีกฝ่ายพูดอยู่ แต่พอลองพูดเข้าจริงๆแล้ว เราจะชอบกะผิด นึกว่าเขาจะพูดจบประโยคแล้ว แต่จริงๆยังไม่จบ ทำให้พอพูด あいづち ออกไปแล้วเหมือนไปพูดแทรกเขา แต่พิธีกรหญิงคนนี้แทบไม่มีการกะผิดแบบเราเลยค่ะ นี่คือความความมืออาชีพสินะ...


2.  ตอนที่อีกฝ่ายจบประโยคด้วยคำลงท้ายที่ต้องการการเห็นด้วยจากอีกฝ่าย

     ตอนที่พิธีกรชายพูดคำลงท้ายประโยคด้วย ~ね หรือ ~でしょ รู้สึกว่าฝ่ายพิธีกรหญิงจะใช้ あいづち ตอบกลับแทบทุกรอบเลยค่ะ แต่จริงๆก็รู้สึกว่าพิธีกรหญิงใช้ あいづち เยอะมาก แทบจะทุกประโยคอยู่แล้ว เลยไม่แน่ใจว่าเรื่องคำลงท้ายประโยคนี่เกี่ยวจริงๆรึเปล่าค่ะ 555



   
ใช้ あいづち แบบไหน

1. หัวเราะ

     ไม่แน่ใจว่าเสียงหัวเราะนับเป็น あいづち มั้ย แต่ว่าเธอหัวเราะบ่อยมาก 555 แล้วอาจจะเป็นเพราะเสียงหัวเราะของเธอมันฟังดูขำมากเลยทำให้เรื่องสูสนุกด้วยรึเปล่าก็ไม่รู้ 55


2. あいづち แสดงการรับรู้

     พวก へー、はいー、んー、ほー เป็นต้นค่ะ พวก あいづち กลุ่มนี้ เรารู้สึกเหมือนเป็นกลุ่มที่ใช้เวลามีคนเล่าเรื่องที่ค่อนข้างยาว แสดงว่าเราฟังอยู่นะ เหมือนเวลามีคนเล่าเรื่องแล้วเรา อืมๆ ในภาษาไทยค่ะ รู้สึกว่าพิธีกรหญิงใช้ あいづち กลุ่มนี้เยอะมากก อาจจะเป็นเพราะตัวรายการเป็นการเล่าเรื่อง พิธีกรหญิงที่เป็นคนตอบรับเลยใช้ あいづち ประเภทนี้เยอะ?


3. あいづち ตอบรับ

    พวก はい、うん เป็นต้นค่ะ รู้สึกว่า あいづち ตอบรับจะเป็น あいづち ที่หนักแน่นกว่ากลุ่มแสดงการรับรู้หน่อยนึงค่ะ อาจจะเพราะมันหนักกว่า เลยเห็นการใช้น้อยกว่า あいづち แสดงการรับรู้ก็ได้ค่ะ (เดาเอา...555)


4. あいづち แสดงความเห็นด้วย

    กลุ่มนี้จะเป็นพวก ねー、そうですね ค่ะ กลุ่มนี้สังเกตว่าจะใช้ตอนที่พิธีกรฝ่ายชายมีการใช้คำลงท้ายพวก ~ね มาก่อนค่ะ แล้วฝ่ายหญิงถึงจะให้พวก そうですね ตาม


5. ทวนคำพูด

     บางทีพิธีกรหญิงจะมีการทวนคำพูดที่พิธีกรชายพูดมาก่อนหน้านี้ค่ะ อย่างเช่นพิธีกรผู้ชายพูดว่าいーねー พิธีกรหญิงก็ทวนคำว่า いいですねー เป็นต้นค่ะ




     จากที่เราฟังๆมาก็ได้ข้อสรุปประมาณนี้ค่ะ รู้สึกว่าพิธีกรหญิงที่คนที่จับโฟลวของบทสนทนาได้ดีมาก แล้วก็พยายามจับจังหวะพูดไม่ให้ไปกวนพิธีกรชายที่เป็นพิธีกรหลักได้ดีมากเลยค่ะ ไว้เราจะศึกษาไปใช้บ้าง (จะทำได้มั้ย ฮือ 555) วันนี้อาจจะสั้งไปหน่อย แต่ก็ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงตรงนี้นะคะ







2 comments:

  1. AD ผู้หญิงคนนี้เขาหัวเราะเก่ง และได้รับความนิยมจากผู้ฟังเรื่องการหัวเราะ(ดูน่าสนุกจริงๆ) หัวเราะไม่ถึงกับเป็น あいづち ทีเดียวค่ะ

    ReplyDelete
  2. เราชอบที่เขาหัวเราะมากจริงๆ อร่อยสุดๆ 555 ตอนตัวเองพูดก็ชอบไปขัดตอนที่เขายังพูดไม่จบประโยคเหมือนกันค่ะ วันหลังต้องระวังแล้ว

    ReplyDelete